วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2551

ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้าและความจำก็ไม่ดี

ทำไมเราจึงเรียนรู้ช้า
เพราะว่าเราขาดความสามารถในการจดจ่อความคิดต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นเวลานานได้ และไม่สามารถควบคุมความคิดให้คิดในทางที่สร้างสรรค์ได้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะปล่อยให้สถานการณ์ภายนอกชักจูงความคิดให้โดดไปมา คิดเรื่องในอดีตหรือเรื่องที่ก่อความทุกข์ให้กับตัวเอง และมักปล่อยให้ความคิดในทางทำลายตัวเองเข้ามาบั่นทอนประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้ช้า คิดไม่ชัดเจนหรือคิดไม่ทัน ดังนั้น ตราบใดที่ยังไม่สามารถตั้งใจคิดได้ คุณก็จะไม่พบคำตอบ

ทำอย่างไรจึงจะเรียนรู้ได้เร็ว

1. เปลี่ยนความคิดจากทางลบ (Negative) มาเป็นทางบวก (Positive)
ทำงานอย่างมีเป้าหมาย ถ้าอยากฉลาดแบบนักคิดระดับโลก ก็ต้องคิดเหมือนพวกเขา คือ ทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเป้าหมาย เช่น ก่อนจะอ่านหนังสือก็ต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะอ่านอะไร อ่านไปเพื่ออะไร เป็นต้น
ต้องรู้ระบบความคิดของตนเองก่อนว่าความคิดไหนทำให้เราคิดในทางลบ เช่น เมื่อเราเห็นคนอื่นทำไม่ได้ เราจึงคิดว่าเราทำไม่ได้ เชื่อว่าตัวเองทำไม่ได้ เพราะความจำไม่ดี เป็นต้น ตัดความคิดในทาง Negative ทิ้งแล้วใส่ความคิดในทาง Positive ลงไปแทนที่ เช่น คนอื่นทำไม่ได้ช่างเขา เราทำได้ก็แล้วกัน ท่านทำได้ ถ้าท่านคิดว่าท่านทำได้ เป็นต้น

2. หัดผ่อนคลายทั้งกายและใจ
จากการทดลองพบว่า คนเราจะเรียนรู้ได้เร็วเมื่ออยู่ในสภาวะที่ผ่อนคลายทั้งกายและใจ ดังนั้น เราควรรู้จักผ่อนคลายจิตใจบ้าง เช่น ฝึกโยคะ ฝึกสมาธิ หรือการสวดมนต์ อาจกล่าวได้ว่า การผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ ช่วยยับยั้งความคิดทาง Negative ได้ชั่วคราว

3. พยายามสังเกตว่าตัวเองเรียนรู้ได้ดีจากสื่อใด
ถึงแม้สมองจะมีคุณสมบัติเหมือนกัน แต่รูปแบบหรือวิธีการเรียนรู้ของแต่ละคนไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน บางคนเรียนรู้ได้เร็วจากการพูดคุยกับผู้อื่น การอ่าน ต้องคิดหาตรรกะ (logic) ด้วยตนเอง ต้องเห็นด้วยตา ถ้าฟังไม่เข้าใจต้องเขียนหรือดูภาพ หรือบางคนต้องฟังอย่างเดียว ดังนั้น ถ้าเราต้องการเพิ่มประิสิทธิภาพในการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จำเป็นต้องสำรวจตัวเองว่า
รูปแบบการเรียนรู้แบบใดทำให้เราเรียนรู้ได้เร็ว
ในช่วงเวลาใดของวันที่เรามีสมาธิสูงสุด กระตือรือร้นสูงสุด

4. พยายามสร้างจุดเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลกับสมอง
จะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลและดึงข้อมูลมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจใช้การตั้งคำถาม การเปรียบเทียบข้อมูล เพราะสูงสุดของการเรียนรู้ คือ การนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์

5. หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
นอกจากจะทำให้มีความสดชื่น กระตือรือร้นแล้ว เมื่อออกกำลังกายนานติดต่อกัน 12 - 20 นาที จะส่งผลให้สมองทำงาน (function) ได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สมองทั้ง 3 ส่วน คือ สมองส่วนซ้าย ส่วนขวา และส่วนกลาง ทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างสะดวก ทำให้สามารถใช้สมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถใช้สมองทั้ง 3 ส่วน ได้พร้อม ๆ กันในเวลาเดียว

6. ควรเข้าใจการทำงานของสมอง
การทำงานของสมองในส่วนความจำจำทำงานได้ดีในเวลาที่ต่างกัน ดังนี้
ช่วงเช้า ความจำระยะสั้น
ช่วงบ่าย ความจำระยะยาว
ก่อนนอน ความจำเกี่ยวกับตัวเลข

คิดว่าสิ่งเหล่านี้คงพอจะนำไปเป็นน้ำจิ้มแห่งการเรียนรู้และความจำได้บ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ และขอให้ความฉลาดอยู่คู่ความดีตลอดไปคับ

ไม่มีความคิดเห็น: