วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

มายแม็พปิ้ง แผนที่สมองของฉัน

Mind Map เปรียบเสมือนแผนที่ในเมืองใหญ่ๆ จุดศูนย์กลางหรือ "เม็ดใน" ของ Mind Map ก็เหมือนศูนย์กลางของเมือง มันคือหัวเรื่องหลักหรือประเด็นที่สำคัญที่สุด ถนนสายหลักต่างๆ ที่วิ่งออกจากจุดศูนย์กลาง ก็เปรียบเสมือนความคิดหลักที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง ถนนสายรองๆ ลงมา คือความคิดที่สำคัญรองๆ ลงมา ลดหลั่นต่อไปเรื่อยๆ รูปภาพสัญลักษณ์ต่างๆ แสดงถึงประเด็นความคิดที่น่าสนใจเป็นพิเศษ

Mind Map ยังเป็นแผนที่เส้นทางอัจฉริยะ เปรียบเสมือน ลายแทง ที่นำไปสู่การจดจำ และการเรียบเรียง จัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติการทำงานของสมองของคุณตั้งแต่ต้นทีเดียว นั่นก็หมายความว่า การจำและการฟื้นความจำ เรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาในภายหลัง จะยิ่งทำได้ง่ายและมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิมๆ

กฎของ MindMap

1. เริ่มด้วยภาพสีตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ ภาพๆเดียวมีค่ากว่าคำพันคำ ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และเพิ่มความจำมากขึ้นด้วย ให้วางกระดาษตามแนวนอน
2. ใช้ภาพให้มากที่สุดใน Mind Map ของคุณ ตรงไหนที่ใช้ภาพได้ให้ใช้ก่อนคำ หรือรหัส เป็นการช่วยการทำงานของสมอง ดึงดูดสายตา และช่วยความจำ
3. ควรเขียนคำบรรจงตัวใหญ่ๆ เป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ เพื่อที่ว่าเมื่อย้อนกลับไปอ่านจะให้ภาพที่ชัดเจน สะดุดตาอ่านง่าย และก่อผลกระทบต่กความคิดมากกว่า การใช้เวลาเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยในการเขียนตัวให้ใหญ่ อ่านง่ายชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถประหยัดเวลาได้ เมื่อย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง
4. เขียนคำเหนือเส้นใต้ แต่ละเส้นต้องเชื่อมต่อกับเส้นอื่นๆ เพื่อให้ Mind Map มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับ
5. คำควรมีลักษณะเป็น "หน่วย" เช่น คำละเส้น เพราะจะช่วยให้แต่ละคำเชื่อมโยงกับคำอื่นๆ ได้อย่างอิสระ เปิดทางให้ Mind Map คล่องตัวและยือหยุ่นได้มากขึ้น
6. ใช้ สี ทั่ว Mind Map เพราะสีช่วยยกระดับความคิด เพลินตา กระตุ้นสมองซีกขวา
7. เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ควรปล่อยให้สมองคิดมีอิสระมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่ามัวแต่คิดว่าจะเขียนลงตรงไหนดี หรือว่าจะใส่หรือไม่ใส่อะไรลงไป เพราะล้วนแต่จะทำให้งานล่าช้าไปอย่างน่าเสียดาย

1 ความคิดเห็น:

zero กล่าวว่า...

ก็ดี